โครงการโรงเรียนสวยหลง Eco School Model

หลักการและเหตุผล

จากการที่สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change ได้ส่งผลกระทบต่อมนุษย์อย่างรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบต่อเกษตรกร คือทำให้ยากต่อการวางแผนการผลิตและเก็บเกี่ยว ทำให้เกิดความเสียหายต่อการผลิตและผลผลิต ส่งผลกระทบสืบเนื่องต่อไปถึงด้านเศรษฐกิจ สั่นสะเทือนถึงความมั่นคงทางด้านอาหารในระยะยาว เด็กและเยาวชนรุ่นหลังย่อมจะได้รับผลกระทบสภาวะ Climate Change เป็นอย่างมากในอนาคต

โรงเรียนบ้านสวยหลง ในฐานะสถาบันการศึกษาภายในชุมชน ร่วมกับคณะกรรมการชุมชนบ้านสวยหลงและศูนย์เรียนรู้อาศรมธรรมชาติ เห็นความสำคัญของการเผยแพร่ความรู้และสร้างการตระหนักรู้เรื่องสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง(Climate Change) การเตรียมตัวและปรับตัวเพื่อรับมือกับผลกระทบของสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง(Climate Change Adaptation) ภายในโรงเรียน

โครงการโรงเรียนสวยหลง Eco School Model เป็นโครงการที่บูรณาการความรู้และการลงมือทำ และเป็นโครงการที่ประสานความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ คือ โรงเรียน ชุมชน หน่วยงานของรัฐ และองค์กรณ์ไม่แสวงผลกำไร โดยมีอาศรมธรรมชาติเป็นตัวประสานความร่วมมือ

 

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจแก่นักเรียน เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็นหลักสูตรเสริมจากความรู้ในหลักสูตรการเรียนการสอน
  2. เพื่อให้ความรู้และสร้างความเข้าใจแก่นักเรียน ในความหมายของการเตรียมตัวและปรับตัวเพื่อรับมือกับผลกระทบของสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change Adaptation) เสริมจากความรู้ในหลักสูตรการเรียนการสอน
  3. เพื่อให้ความรู้และประสบการณ์แก่นักเรียนในการสร้างแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนภายในโรงเรียนผ่านการร่วมลงมือทำ ได้แก่ การสร้างบ้านดิน(อาคารเรียนและหอประชุม) การจัดการขยะแบบหมุนเวียน(recycle) การทดลองใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในบางส่วน(Solar Energy)  การทำสวนเกษตรอินทรีย์และเศรษฐกิจชุมชน การเผาถ่านแบบ bio char (ไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการเผาถ่าน) ระบบการกรองน้ำด้วยวิธีธรรมชาติ ระบบการจัดการน้ำเสียจากโรงครัว

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change)
  2. นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจความหมายของการเตรียมตัวและปรับตัวเพื่อรับมือกับผลกระทบของสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change Adaptation)
  3. นักเรียนมีความรู้และประสบการณ์ในการสร้างแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนภายในโรงเรียนผ่านการร่วมลงมือทำ ได้แก่ การสร้างบ้านดิน(อาคารเรียนชั่วคราวและหอประชุม) การจัดการขยะแบบหมุนเวียน(recycle) การทดลองใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในบางส่วน(Solar Energy)  การทำสวนเกษตรอินทรีย์และเศรษฐกิจชุมชน
  4. โรงเรียนบ้านสวยหลงเป็นแบบอย่าง Eco School Model และเป็นแหล่งเรียนรู้ภายในชุมชน เกี่ยวกับการปรับตัวเพื่อรับมือกับผลกระทบของสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change Adaptation) เช่น การสร้างบ้านดินอีโค่ ระบบการจัดการขยะแบบหมุนเวียน การเกษตรอินทรีย์ที่หลากหลายยั่งยืน การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ การเผาถ่านแบบ bio char ระบบการกรองน้ำด้วยวิธีธรรมชาติ  ระบบการจัดการน้ำเสียจากครัวเรือน
  5. นักเรียนสามารถเป็นนักสื่อสารสิ่งแวดล้อม เผยแพร่และสร้างการตระหนักรู้เรื่อง Climate Change และ การปรับตัวเพื่อรับมือกับผลกระทบของสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงได้ (Climate Change Adaptation)

ระยะเวลาดำเนินโครงการ

ปีการศึกษา 2565 – ปีการศึกษา 2569

 

แผนการดำนเนินงาน

ปีการศึกษา 2565

  • กิจกรรมสร้างอาคารอนุบาลบ้านดินอีโค่ขนาดใช้สอย 160 ตรม. เพื่อใช้เป็นห้องเรียน ห้องสมุดและห้องกิจกรรม สำหรับเด็กนักเรียนอนุบาล โดยใช้เทคนิคการสร้างบ้านดิน และหลังคาเขียว(Green roof) รวมทั้งติดต้ังระบบพลังงานแสงอาทิตย์(Solar Energy) เพื่อใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในการทำกิจกรรมการเรียน การสอนภายในอาคาร
  • กิจกรรมค่าย “ร่วมทำ ร่วมเรียนรู้ English & Nature” ร่วมสร้างอาคารอุนบาลบ้านดินระว่างนักเรียน ชุมชน อาศรมธรรมชาติ และกลุ่มอาสาสมัครจากสถานศึกษาชั้นมัธยมและอุดมศึกษา จำนวน 4 ครั้งๆ ละ 3 วัน 
  • กิจกรรมผลิตสื่อสร้างสรรค์เพื่อให้ความรู้แก่นักเรียนและชุมชนเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงและผลกระทบ
งบประมาณดำเนินการ
  • งบประมาณดำเนินการสร้างอาคาร ติดตั้งเฟอร์นิเจอร์ที่จำเป็นภายในอาคาร และติดต้ังระบบพลังงานแสงอาทิตย์ รวมเป็นเงิน 1,350,000 บาท
  • งบประมาณสร้างห้องน้ำห้องส้วมสำหรับเด็กอนุบาล 2 ห้อง และสนามเด็กเล่นพร้อมอุปกรณ์เด็กเล่นเสริมพัฒนาการ 200,000 บาท
  • งบประมาณในการจัดค่าย “ร่วมทำ ร่วมเรียนรู้ English & Nature” จำนวน 4 ครั้งๆ 3 วัน จำนวน 60,000 บาท
  • กิจกรรมผลิตสื่อสร้างสรรค์เพื่อให้ความรู้แก่นักเรียนและชุมชนเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงและผลกระทบ 30,000 บาท
  • รวมงบประมาณปีการศึกษา 2565 เป็นจำนวนเงิน 1,640,000 บาท

ปีการศึกษา 2566

  • กิจกรรม “พัฒนาพื้นที่สวนอินทรีย์เกษตรผสมผสาน เพื่อความมั่นคงทางอาหาร ” ประกอบไปด้วย 1)การพัฒนาพื้นที่ปลูกผักสวนครัว 2)การพัฒนาพื้นที่ปลูกสมุนไพร 3) การพัฒนาพื้นที่เพาะพันธุ์กล้าไม้ 4) การพัฒนาพื้นที่เลี้ยงเป็ด ไก่ ปลา
  • กิจกรรมพัฒนาพื้นที่เรียนรู้(Workshop)การแปรรูปผลผลิตจากชุมชน
  • กิจกรรมค่าย “ร่วมทำ ร่วมเรียนรู้ English & Nature” ร่วมสร้างสวนเกษตรอินทรีย์ผสมผสานในพื้นที่ของโรงเรียน จำนวน 4 ครั้งๆ ละ 3 วัน

งบประมาณดำเนินการ

  • กิจกรรม “พัฒนาพื้นที่สวนอินทรีย์เกษตรผสมผสาน เพื่อความมั่นคงทางอาหาร ” ประกอบไปด้วย 1)การพัฒนาพื้นที่ปลูกผักสวนครัว(ประกอบด้วยพื้นที่เพาะปลูก พื้นที่ทำปุ๋ยหมักชีวภาพ) 2)การพัฒนาพื้นที่ปลูกสมุนไพร 3) การพัฒนาพื้นที่เพาะพันธุ์กล้าไม้ 4) การพัฒนาพื้นที่เลี้ยงเป็ด ไก่ ปลา รวมเป็นเงินงบประมาณ 250,000 บาท
  • กิจกรรมพัฒนาพื้นที่เรียนรู้(Workshop)การแปรรูปผลผลิตจากชุมชน งบประมาณ 100,000 บาท
  • กิจกรรมค่าย “ร่วมทำ ร่วมเรียนรู้ English & Nature” สร้างสวนเกษตรอินทรีย์ผสมผสานในพื้นที่ของโรงเรียนจำนวน 4 ครั้ง ครั้งละ 3 วันรวมเป็นเงินงบประมาณ 60,000 บาท 
  • รวมงบประมาณดำเนินการปีการศึกษา 2566 รวมเป็นเงินงบประมาณ 410,000 บาท 
ปีการศึกษา 2567
  • กิจกรรมพัฒนาและติดตั้งระบบพลังงานหมุนเวียนเพื่อการใช้ประโยชน์และเป็นฐานการเรียนรู้ ประกอบด้วย  ถ่านชีวภาพ 3 ระบบ 
  • กิจกรรม พัฒนาระบบบ่อกรองน้ำเสียจากครัว
  • กิจกรรมค่าย “ร่วมทำ ร่วมเรียนรู้ English & Nature” 4 ครั้ง ครั้งละ 3 วัน

งบประมาณดำเนินการ

  • กิจกรรม พัฒนาและติดตั้งระบบพลังงานหมุนเวียนเพื่อการใช้ประโยชน์และเป็นฐานการเรียนรู้ ประกอบด้วย  ถ่านชีวภาพ  งบประมาณในการสร้างสถานีเตาถ่านชีวภาพและการติดตั้งเตาถ่านชีวภาพ 2 เตา  รวมเป็นงบประมาณ 25,000 บาท
  • กิจกรรม พัฒนาระบบบ่อกรองน้ำเสียจากครัว งบประมาณ 5,000 บาท
  • กิจกรรมค่าย “ร่วมทำ ร่วมเรียนรู้ English & Nature” 4 ครั้ง ครั้งละ 3 วัน รวมงบประมาณ 60,000 บาท
  • รวมงบประมาณดำเนินการปีการศึกษา 2567 เป็นเงิน 90,000 บาท

ปีการศึกษา 2568

  • กิจกรรมเรียนรู้ขยะหมุนเวียน
  • ระบบจัดการขยะหมุนเวียนภายในโรงเรียน วัด และชุมชน
  • กิจกรรมขยะสร้างสรรค์ นำขยะมาสร้างสิ่งใหม่

งบประมาณดำเนินการ

  • กิจกรรมเรียนรู้ขยะหมุนเวียน งบประมาณ 10,000 บาท
  • ระบบจัดการขยะหมุนเวียนภายในโรงเรียนและชุมชน งบประมาณ 45,000 บาท
  • กิจกรรมขยะสร้างสรรค์ นำขยะมาสร้างสิ่งใหม่ งบประมาณ 20,000
  • กิจกรรมค่าย “ร่วมทำ ร่วมเรียนรู้” จำนวน 4 ครั้ง ครั้งละ 3 วัน รวมเป็นเงินงบประมาณ 60,000 บาท
  • รวมงบประมาณปีการศึกษา 2568 เป็นเงิน 135,000 บาท

ปีการศึกษา 2569 

  • กิจกรรมพัฒนานักสื่อสารสิ่งแวดล้อมและไกด์ชุมชนน้อย
  • กิจกรรมเรียนรู้การท่องเที่ยวชุมชน Eco Tourism
  • กิจกรรมค่ายนักสื่อสารสิ่งแวดล้อม
  • กิจกรรมเปิดตัว สวยหลง Eco School Model

งบประมาณดำเนินการ

  • กิจกรรมพัฒนานักสื่อสารสิ่งแวดล้อมและไกด์ชุมชนน้อย งบประมาณ 25,000 บาท(ค่าตอบแทนและค่าเดินทางวิทยากร)
  • กิจกรรมเรียนรู้การท่องเที่ยวชุมชน Eco Tourism งบประมาณ 25,000 บาท(ค่าตอบแทนและค่าเดินทางวิทยากร)
  • กิจกรรมค่ายนักสื่อสารสิ่งแวดล้อม 2 ครั้ง งบประมาณ 60,000 บาท
  • กิจกรรมเปิดตัว สวยหลง Eco School Model เพื่อเผยแพร่ไปยังกลุ่มโรงเรียนต่างๆ ในจังหวัดหนองคาย งบประมาณ 45,000 บาท
  • รวมงบประมาณปีการศึกษา 2569 เป็นเงิน 155,000 บาท

รวมงบประมาณดำเนินการปีการศึกษา 2565 – 2569 เป็นเงิน

2,430,000 บาท

 

รายละเอียดแผนการดำเนินการก่อสร้างอาคารอนุบาลบ้านดินอีโค่ ปีการศึกษา 2565

ในส่วนแรกของโครงการจะให้ความสำคัญกับการออกแบบและสร้างอาคารเรียนสำหรับนักเรียนอนุบาล (อายุ 4-6 ปี) ที่ปลอดภัย ดีต่อสุขภาพ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เหตุที่เราใ้ห้ความสำคัญกับการสร้างอาคารเรียนนี้ก่อน เนื่องมาจากห้องเรียนปัจจุบันของนักเรียนอนุบาลอยู่ภายในอาคารที่มีสภาพเก่าและผุพัง ซึ่งไม่ปลอดภัยเป็นอย่างยิ่ง จึงจะเป็นโอกาสที่จะสร้างอาคารเรียนใหม่ และเป็นโมเดลอาคารอีโค่ไปในตัว

สภาพอาคารเรียนปัจจุบันเป็นดังภาพด้านล่างนี้

อาคารเรียนใหม่นี้จะสร้างโดยใช้เทคนิคและวัสดุธรรมชาติ วัสดุธรรมชาติและวัสดุรีไซเคิลที่เราจะใช้คือ:

  • อะโดบี หรืออิฐดิน
  • ถุงดิน
  • ขวดแก้ว
  • หน้าต่างและประตูรีไซเคิลที่ทำจากวัสดุรีไซเคิล
โดยในกระบวนการสร้างจะมีความร่วมมือจากหลายภาคส่วนเช่น ชาวบ้าน เด็กนักเรียน ครู ผู้นำชุมชน นักเรียน นักศึกษาจากสถาบันการศึกษาอื่นที่ต้องการสนับสนุนและเรียนรู้ร่วมกัน รวมทั้งอาสาสมัครจากองค์กรอาสาสมัครจากต่างประเทศ
stumping mud

wallscomingup
villagersprep
villagers prep mud
walls
bricks making

ประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมของอาคารอนุบาลบ้านดินอีโค่:

ลดการเกิดคาร์บอนฟุตปริ๊นท์อย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับอาคารซีเมนต์ทั่วไป

การใช้ดินในท้องถิ่นเป็นส่วนใหญ่จะช่วยลดผลกระทบของการขุดหาวัสดุ

อาคารบ้านดินจะช่วยให้อาคารเย็นลง เมื่อใช้ร่วมกับพลังงานแสงอาทิตย์หมายความว่าไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องปรับอากาศและลดการปล่อยพลังงานคาร์บอนจากการใช้งาน

ประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของอาคารอนุบาลอีโค่:

  • ชาวบ้านในท้องถิ่นจะได้รับการจ้างงานในการร่วมสร้างอาคาร
  • เกิดความภาคภูมิใจของหมู่บ้านและชาวบ้าน
  • เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนสร้างความเข้มแข็งในชุมชน
  • ชุมชนมีความรู้และทักษะในการสร้างบ้านดินอีโค่
  • ภูมิปัญญาที่เพิ่มขึ้นนี้จะนำไปสู่การเกิดขึ้นของโครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอื่นๆของหมู่บ้านในอนาคต

kids

รายละเอียดแบบอาคารอนุบาลบ้านดินอีโค่

อาคารเรียนจะมีพื้นที่ทั้งหมด 160 ตารางเมตร และมีพื้นที่ที่มีอาคารเรียนในร่ม 100 ตารางเมตร โดยจะแบ่งเป็น 2 ห้อง ได้แก่

        ห้องเรียนหลัก มีพื้นที่ทั้งหมด 42 ตารางเมตร

        ห้องเรียนเสริม ซึ่งมีการแบ่งพื้นที่ย่อย เป็นพื้นที่ในส่วนของห้องสมุดและส่วนของห้องโสตทัศนูปกรณ์ คิดเป็นพื้นที่ทั้งหมดรวม 48 ตารางเมตร

นอกจากนี้ในส่วนของพื้นที่ด้านนอกอาคารเรียน จะมีหลังคาขนาดใหญ่ยื่นออกมาเพื่อให้เด็ก ๆ สามารถออกมาเล่นด้านนอกได้ และทางฝั่งตะวันตกเราได้เพิ่มพื้นที่

ที่สามารถเล่นนอกชานได้ รวมถึงมีอ่างล้างมือสำหรับเด็กๆ อีกด้วย นี่คือแบบของอาคารเรียน:

การออกแบบหลังคาเขียว (Green Roof) และอาคารเรียน

สำหรับหลังคานั้น เราเลือกที่จะสร้างเป็นหลังคาเขียว (Green roof) เพราะหลังคาเขียวสามารถช่วยให้อาคารเย็นขึ้นได้ การระบายความร้อน เป็นสิ่งสำคัญในการพิจารณาออกแบบ อาคารสำหรับก่อสร้างในพื้นที่เขตร้อน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศของเราที่มีฤดูแล้งมากถึง 6 เดือน ซึ่งอาจจะจัดได้ว่าเป็นพื้นที่ที่ร้อนมากนั่นเอง โดยหลังคาจะมีส่วนที่ยื่นออกมาขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญสำหรับอาคารเรียนธรรมชาติในการป้องกันผนังของอาคารจากฝน และยังช่วยทำให้อุณหภูมิในอาคารเย็นลงได้ หลังคาเขียวจะก่อให้เกิดการหมุนเวียนอากาศจากลมธรรมชาติ เพื่อให้อากาศภายในอาคารเกิดการถ่ายเทได้มากขึ้น โดยในส่วนของหลังคาเขียวจะมีขนาดใหญ่ประมาณ 260 ตารางเมตร ในส่วนของการออกแบบและก่อสร้างหลังคาเขียว เราจะได้รับการช่วยเหลือ และสนับสนุนจากคุณเบน เมอร์เรย์ (Ben Murray) ซึ่งเป็นนักออกแบบด้านนิเวศวิทยา และมีประสบการณ์อย่างกว้างขวางในงานด้านอาคารธรรมชาติและหลังคาเขียวในประเทศไทย นอกจากนี้เรากำลังพูดคุยกับบริษัทด้านหลังคาชื่อดังอย่างซิก้า (Sika) และบริษัทรายอื่นๆ เพื่อค้นหาตัวเลือกที่ตอบโจทย์ในการสร้างอาคารมากที่สุด หรืออาจมีโอกาสเป็นผู้สนับสนุนในการสร้างอาคารนี้ได้บ้าง

นี่คือ แต่ละชั้นของหลังคาเขียว และตัวอย่างหลังคาเขียวของโรงเรียนในทวีปยุโรป

Layers

ความคืบหน้าจนถึงปัจจุบัน

เราได้เริ่มโครงการนี้แล้ว มีนักศึกษาประมาณ 50 คนจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นเข้าร่วมกับเราในบางวันหยุดสุดสัปดาห์เพื่อช่วยกันทำอิฐอะโดบี (Adobe) และสร้างผนังกำแพงขึ้น นอกจากนี้นักศึกษายังจัดค่ายสอนภาษาอังกฤษสำหรับเด็กนักเรียนอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีครูและนักเรียนจากโรงเรียนไตรพัฒน์ จ.ปทุมธานี ร่วมสร้างในค่ายต่อมา และเรายังมีหลักสูตรการก่อสร้างบ้านดินระยะสั้น 2 หลักสูตรที่ผู้เข้าร่วมช่วยสร้างผนังกำแพง อีกทั้งเรายังมีทีมช่างก่อสร้างในท้องถิ่นเพื่อปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของตัวอาคารด้วย นี่คือภาพถ่ายบางส่วนของงานที่ได้ทำเสร็จไปแล้ว:

moving mud
mixing
mixing
building walls
students
kids
cob
building walls
walls
happybuilders
breaktime
course
hardatwork
walls
window
students helping out

villagersprep
villagers prep mud
walls
bricks making


การประเมินราคา

การประเมินราคาขั้นต้น โดยประมาณของอาคารจะอยู่ที่ 1,350,000 บาท สำหรับอาคารพื้นที่ 160 ตารางเมตร รวมราคาการติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์ และเฟอร์นิเจอร์ภายในอาคาร

หากคุณมีคำถามเพิ่มเติมหรือต้องการดูงบประมาณพร้อมรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดแจ้งให้เราทราบ ทางเราจะตอบกลับโดยเร็วท่ีสุด

การบริจาคของคุณนั้นสำคัญ

สำหรับโครงการโรงเรียนอนุบาลบ้านดินอีโค่ และกิจกรรมอื่นๆ ในโครงการโรงเรียนสวยหลง Eco School Model นั้น เราอาศัยการบริจาคอย่างเต็มกำลัง ในการพัฒนาโครงการให้เกิดขึ้น ดังนั้น การบริจาคของคุณช่วยเราได้  เราหวังว่าในอนาคตโรงเรียนแห่งนี้จะเป็นเแลนด์มาร์คและเป็นแหล่งเรียนรู้ Eco School Model เรื่อง Climate Change Adaptation ของจังหวัดหนองคาย ที่แสดงถึงความยั่งยืน เมื่อเวลานั้นมาถึงสิ่งนี้จะเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้คนในภูมิภาคหันกลับมาสร้างอาคารและการจัดการทรัพยกรในที่วิถีชีวิตที่มีความยั่งยืนและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ผลที่จะเกิดขึ้นที่มีผลทันที และในระยะยาว รวมถึงความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม และสังคมของโรงเรียนสวยหลง Eco School Model:

  • มีกระบวนการสร้างอาคารที่จำกัดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) โดยใช้ดิน และวัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้
  • ตลอดอายุการใช้งานของอาคารหลังนี้จะลดการปล่อยก๊าซ CO2 ลงได้ เนื่องจากมีผนังอาคาร และหลังคาเขียวในการช่วยระบายความร้อน
  • เพื่อลดการปล่อยมลพิษเพิ่มเติม พลังงานที่ใช้ในอาคารทั้งหมด จะเป็นพลังงานจากแสงอาทิตย์
  • อาคารอนุบาลบ้านดินอีโค่เป็นอาคารต้นแบบโรงเรียนอีโค่ที่สวยงามและเต็มเปี่ยมไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ ที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับท้องถิ่นอื่นในการหันมาสร้างโรงเรียนสีเขียว หรือปรับปรุงโรงเรียนให้มีสีเขียวมากขึ้น
  • มีการเพิ่มศักยภาพ และฝึกอบรมชาวบ้านในท้องถิ่นให้เป็นผู้สร้างอาคารสีเขียว (Green builder) ในอนาคตเรามีงานอีกมากสำหรับพวกเขา หากพวกเขาเลือกที่จะเข้าร่วมโครงการนี้กับเรา
  • ผู้ปกครองสามารถส่งบุตรหลานของพวกเขาเข้ามาเรียนในโรงเรียนท้องถิ่น ซึ่งจะช่วยสนับสนุนความร่วมมือทางสังคม และวัฒนธรรมภายในหมู่บ้าน
  • มีการจ้างงานในท้องถิ่นเกิดขึ้น โดยโครงการนี้จะมีส่วนช่วยในการสนับสนุนเศรษฐกิจในครัวเรือน รวมไปถึงเศรษฐกิจในท้องถิ่นด้วย

สมทบทุนได้อย่างไร

ท่านสามารถสมทบทุนการก่อสร้างได้โดยการโอนเงินเข้าบัญชี

ชื่อบัญชี “เงินรายได้สถานศึกษาโรงเรียนบ้านสวยหลง”

ธ.กรุงไทย สาขาศูนย์ราชการจังหวัดหนองคาย

บัญชีเลขที่ 982-2-70534-4

เมื่อได้ทำการโอนเงินแล้วขอความกรุณาแจ้งการโอนพร้อมสลิปการโอนที่ Line ID : 0805791006

เราขอขอบคุณในความกรุณาของท่านที่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในโครงการนี้

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

gaiaschoolasia@gmail.com

โทร : 0805791006

Line ID : 0805791006