
อาบป่า & นิเวศวิทยาแนวลึก(Forest Bathing & Deep Ecology) เป็นคอร์สที่ผสมผสานกระบวนเรียนรู้ของทั้งสองระบบที่ช่วยให้เราเชื่อมโยงกับธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง บ่มเพาะความรู้สึกสำนึกถึงความเป็นส่วนหนึ่งของข่ายใยชีวิต
อาบป่า (Forest Bathing) มีต้นกำเนิดจาก Shinrin-yoku การอาบป่าบำบัดแบบญี่ปุ่น Shinrin (森林) แปลว่า ป่า และ Yoku (浴) แปลว่า อาบ จึงแปลรวมกันว่า การอาบป่า หรือการรับรู้บรรยากาศป่าผ่านประสาทสัมผัส เป็นศาสตร์ที่เรียบง่าย เพียงเราอยู่กับธรรมชาติ ณ ตรงนั้นและเปิดประสาทสัมผัสรับรู้ธรรมชาติรอบข้าง สิ่งสำคัญ คือ การปรับจังหวะให้ช้าลง เพื่อเปิดรับสัมผัสได้ละเอียดขึ้น ซึ่งความท้าทายสำหรับคนเมือง ที่มีจังหวะชีวิตที่รีบเร่ง และก้มมองมือถือมากกว่ามองท้องฟ้า
องค์ประกอบของการอาบป่ามี 2 ส่วนหลัก คือ ป่า/พื้นที่ธรรมชาติ (Forest/Nature) และ ความใส่ใจ (Mindful) เมื่อเราอยู่ท่ามกลางธรรมชาติด้วยความใส่ใจ สามารถนำไปสู่ความผ่อนคลายได้ เมื่อดวงตาเราเปิดกว้าง มองเห็นชีวิตอื่นๆที่อยู่รอบตัวเรา ได้ยินเสียงของธรรมชาติที่ชวนผ่อนคลาย ได้สัมผัสผืนดิน สายน้ำ ต้นไม้ หรือสายลมพัดปะทะผิวกายให้ความสดชื่น กลิ่นของดอกไม้ กลิ่นดิน กลิ่นหญ้าชวนให้เรากลับมาอยู่กับเนื้อกับตัว ณ ปัจจุบันขณะ การลิ้มรสสัมผัสของอาหารจากธรรมชาติ อากาศ หรือจิบชา/น้ำสมุนไพร เติมความสดชื่นให้ร่างกาย สิ่งที่ผ่านเข้ามาทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 ล้วนส่งผลมาที่ใจ ซึ่งเชื่อมโยงไปถึงมุมมองที่เปิดกว้าง ความผ่อนคลายกายและใจ รู้สึกสดชื่น เติมพลังให้ชีวิต
อีกสิ่งหนึ่งที่ควรส่งเสริมให้มีในการสัมผัสธรรมชาติในเมือง คือ การพักผ่อน โดยไม่ต้องทำอะไรเลย การอยู่นิ่งๆ นั่ง หรือ นอน ในพื้นที่ธรรมชาติ สิ่งเรียบง่ายที่ทำได้ยากสำหรับคนเมือง กระบวนกรอาบป่าจึงมีส่วนในการเปิดพื้นที่ให้ผู้เข้าร่วมวางใจด้วยกิจกรรมต่างๆที่ชวนปรับจังหวะให้ช้าลง และเปิดผัสสะให้ละเอียดขึ้น โดยเรามีการเพิ่มกิจกรรมการล้อมวงแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อเพิ่ม human touch ในช่วงโควิดนี้ ให้ผู้คนได้รู้สึกถึงความเป็นมนุษย์มากขึ้น วางใจกัน วางใจตัวเอง วางใจต่อธรรมชาติเพื่อความผ่อนคลายมากขึ้น
กระบวนการอาบป่า ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ
- Grounding
การปรับจังหวะตัวเองให้ช้าลง หายใจช้าลง รับรู้ความรู้สึกที่ร่างกาย และจิตใจ เมื่อร่างกายผ่อนคลาย เช่น การยืนเท้าเปล่าบนพื้นดิน เดินเท้าเปล่า นั่ง/นอนบนพื้น เปิดผัสสะ (senses) เช่น ปรับโฟกัสการมอง ปิดตาเพื่อรับฟังเสียงรอบตัว กลิ่นรอบตัว สัมผัสพื้นดิน ต้นไม้ สายน้ำ ฯลฯ อาจจะมีการพูดคุยสั้นๆ ทำความรู้จัก แบ่งปันความรู้สึกที่เกิดขึ้นตอนที่ร่างกายผ่อนคลาย เป็นกระบวนการนำเข้าสู่การสัมผัสธรรมชาติในกิจกรรมต่อไป
- Invitation
กิจกรรมที่มีความหลากหลาย (ปรับตามธรรมชาติของผู้เข้าร่วม) ที่ใช้การสัมผัสธรรมชาติ ณ สถานที่แห่งนั้น เช่น
- Sit spot การเดินหาพื้นที่ที่เรารู้สึกผ่อนคลายที่จะนั่ง หรือ นอนตรงนั้น ในระยะเวลาตั้งแต่ 15 นาที – 2 ชั่วโมง (ขึ้นอยู่กับระยะเวลาของโปรแกรม)
- การเดินเล่นในพื้นที่ธรรมชาติ แล้วเก็บวัสดุธรรมชาติที่สะท้อนถึงความเป็นตัวเอง นำมาทำงานศิลปะ ผ่อนคลายจิตใจ
- การกอดต้นไม้ ฯลฯ
- Reflection
การสะท้อนตัวเองจากกิจกรรม เพื่อให้เข้าใจความคิด ความรู้สึก จากประสบการณ์ที่ได้รับจากกิจกรรมเชื่อมโยงกับธรรมชาติแล้วนำสิ่งที่ได้เรียนรู้เชื่อมโยงกลับมาสู่ความเข้าใจตัวเอง อันนำไปสู่ความผ่อนคลายทางร่างกายและจิตใจ (ระดับความลึกของการพูดคุย ขึ้นอยู่กับทักษะของกระบวนกรในการรับฟังอย่างลึกซึ้ง การสะท้อน และการตั้งคำถาม ซึ่งการอาบป่าเพื่อความผ่อนคลายในเบื้องต้นอาจไม่จำเป็นต้องพูดคุยลงลึกก็ได้) อาจจะทำในลักษณะของการล้อมวงคุย หรือมีการจิบน้ำชาและพูดคุยไปด้วยก็ได้
นิเวศวิทยาแนวลึก (Deep Ecology) เป็นปรัชญาที่เกิดจากการตั้งคำถามเชิงลึกเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และโลกธรรมชาติ คำว่า Deep Ecology เกิดขึ้นในปี 1960 โดยนักปรัชญาชาวนอร์เวย์ชื่อ Arne Naess ซึ่งตั้งคำถามถึงรากเหง้าของปัญหาวิกฤติการณ์ทางสิ่งแวดล้อม และขบวนการเคลื่อนไหวทางสิ่งแวดล้อม Arne Naess ชี้ว่า ความรู้ทางเวศวิทยานั้น เป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่อธิบายถึงสัมพันธ์ระหว่าง สิ่งมีชีวิต (organism) กับสิ่งแวดล้อม (environment) หรือแหล่งที่อยู่ (Habitat) ตามธรรมชาติ แต่ไม่ได้ให้แนวทางทางจริยธรรมว่าเราควรมีชีวิตที่สัมพันธ์กับธรรมชาติในแบบไหน เขาจึงเสนอแนวคิด นิเวศวิทยาแนวลึก (Deep Ecology) คือการค้นหาปัญาเชิงนิเวศ( Ecological Wisdom) เพื่อตอบคำถามนี้
Dr.Stephan Harding ผู้เขียนหนังสือ Animate Earth๖ฉบับแปลไทย : กาย่า โลกที่มีชีวิต) เป็นผู้ร่วมก่อตั้งวิทยาลัยชูมาร์คเกอร์ (Schumacher College (England) และเป็นอาจารย์สอนวิทยาศาสตร์องค์รวม (Holistic Science) กล่าวว่า นิเวศวิทยาแนวลึกในเชิงปรัชญา คือการค้นหาปัญญาทางนิเวศนี้ผ่านกระบวนการ ประสบการณ์เชิงลึก(Deep Experience) การตั้งคำถามเชิงลึก (Deep Questioning) และพันธสัญญาเชิงลึก(Deep Commitment) โดยทั้งสามองค์ประกอบนั้น มีความสัมพันธ์กันเป็นระบบ
นอกจากการใช้แนวทางทั้งสองรูปแบบดังที่กล่าวมานั้น คอร์สอาบป่า & นิเวศวิทยาแนวลึก ยังนำกระบวนการ Work That Reconnect ซึ่งคิดค้นและพัฒนาขึ้นโดย Joanna Macy และทีม
กระบวนการ Work That Reconnect นี้เป็นการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์และการสะท้อนใคร่ครวญ (reflection) ในกิจกรรมรูปแบบต่างๆ โดยกระบวนการนี้จะมีอยู่ 4 องค์ประกอบด้วยกันคือ ความรู้คุณค่า(Gratitude) ความรู้สึกทุกข์ร่วมกับโลก (Honoring our Pain for the World) มองด้วยดวงตาใหม่ (Seeing with new eyes) เคลื่อนไปข้างหน้า (Setting forth)
โดยกระบวนการ Work That Reconnect นี้ เมื่อผ่านการเรียนรู้ครบกระบวนการมักก่อให้เกิดความรู้สึกเชื่อมโยงและเป็นส่วนหนึ่งกับข่ายใยชีวิต รวมไปถึงการเกิดพลังและแรงบันดาลใจที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อส่งเสริมธรรมชาติและความยั่งยืน หรือเกิดพันธสัญญาที่ลึกซึ้ง หรือ Deep Commitment นั่นเอง
ตารางกิจกรรมคอร์สอาบป่าและนิเวศวิทยาแนวลึก
วันที่ 18 มี.ค. 2566
6.00 – 7.15 : โยคะ
7.30 – 8.30 : อาหารเช้า
8.45 – 10.30 : กิจกรรมแนะนำตัว แนะนำกิจกรรม สร้างสรรค์ชุมชน
10.30 – 10.50 : พัก
10.50 – 12.30 : กิจกรรมอาบป่า
12.30 – 14.30 : อาหารเที่ยง / พัก
14.30 – 15.30 : กิจกรรมอาบป่า และกิจกรรมรู้คุณค่า (Gratitude)
15.30-15.40 : พัก
15.40 – 17.00 : กิจกรรมอาบป่าและกิจกรรมรู้คุณค่า (Gratitude) (ต่อ๗
17.45 – 18.45 น. : ปัญจลีลา
19.00 – 20.00 น. : อาหารเย็น
20.15 – 21.30 : กิจกรรมรอบกองไฟ
วันที่ 19 มี.ค. 2566
6.00 – 7.15 : โยคะ
7.30 – 8.30 : อาหารเช้า
8.45 – 10.30 : กิจกรรมอาบป่า. กิจกรรมสามฐาน ประสบการณ์เชิงลึก(Deep Experience) การตั้งคำถามเชิงลึก(Deep Questioning) การเกิดพันธสัญญาเชิงลึก (Deep Commitment)
10.30 – 10.50 : พัก
10.30 – 12.30 : กิจกรรมสามฐาน ประสบการณ์เชิงลึก(Deep Experience) การตั้งคำถามเชิงลึก(Deep Questioning) การเกิดพันธสัญญาเชิงลึก (Deep Commitment)(ต่อ)
12.30 – 14.30 : อาหารเที่ยง / พัก
14.30 – 15.30 : กิจกรรมความรู้สึกร่วมทุกข์ไปกับโลก (Honorning our pain for the world)
15.30-15.40 : พัก
15.40 – 17.00 : ความรู้สึกร่วมทุกข์ไปกับโลก (Honoring our Pain for the World)(ต่อ)
17.45 – 18.45 น. : โยคะ
19.00 – 20.00 น. : เย็นนี้
วันที่ 20 มี.ค. 2566
6.00 – 7.15 : โยคะ
7.30 – 8.30 : อ่า
8.45 – 10.30 : อาบป่า ลุ้นรับตาดวงใหม่(เห็นกับตาใหม่)
10.30 – 10.50 : พัก
10.50 – 12.30 : กิจกรรมพบกับตาดวงใหม่ (ต่อ)
12.30 – 14.30 : อาหารเที่ยง / พัก
14.30 – 15.30 น. : งวดที่ตาดวงใหม่(ต่อ)
15.30-15.40 : พัก
15.40 – 17.00 : เปิด อาบป่า อาบวิถี(เพอร์มาแคลเจอร์)
17.45 – 18.45 น. : โยคะ
19.00 – 20.00 น. : เย็นนี้
20.15 – 21.30 น. : เปิดภาคค่ำ
วันที่ 21 มี.ค. 2566
6.00 – 7.15 : โยคะ
7.30 – 8.30 : อ่า
8.45 – 10.30 : เปิดอาบป่า โอกาสของเราจะเป็นอย่างไร (ตั้งปณิธานอย่างลึกซึ้ง)
10.30 – 10.50 : พัก
10.50 – 12.30 : เปิดกิจกรรมของเราตลอดไป
12.30 – 14.30 : อาหารเที่ยง / พัก
14.30 – 15.30 น. : งวดที่ตาดวงใหม่(ต่อ)
15.30-15.40 : พัก
15.40 – 17.00 : เปิด อาบป่า อาบวิถี(เพอร์มาแคลเจอร์)
17.45 – 18.45 น. : โยคะ
19.00 – 20.00 น. : เย็นนี้
วันที่ 22 มี.ค. 2566
6.00 – 7.15 : โยคะ
7.30 – 8.30 : อ่า
8.45 – 10.30 : เปิดอาบป่า อาบวิถีที่ยั่งยืน
10.30 – 10.50 : พัก
10.50 – 12.30 : กำหนดปิดกิจกรรม
12.30 – 14.30 : อาหารเที่ยง / พัก
ค่าคอร์สอบรม
7,900 บาท
สมัครก่อน 31 ม.ค. 7,500 บาท
ค่าคอร์สรวมสำหรับที่พัก(หอพักรวม)
มาจองห้องพักเดี่ยว จ่ายเพิ่ม 250 บาทต่อคืน
ที่จองห้องพักคู่(พักได้แล้ว) จ่ายเพิ่ม 350 บาทต่อคืน
บ้านพักเดี่ยว พักได้ 4-5 คน จ่ายเพิ่มคืนละ 1,000 บาท
รับจำนวน 18 คน
ตามมา
มาแล้วสมัครได้หลังจากติดต่อเราไลน์ หรือ 0805791006 หรืออีเมล์หรืออีเมล์ gaiaschoolasia@gmail.com หรือ WhatsApp เพื่อสอบถามว่ายังมีที่ว่างหรือไม่และเพื่อนบ้านของลิงค์นี้ตามมา จ่ายเงินค่าคอร์สอบรมแล้วเรา จะยืนยันการประชุมสัมมนาของท่าน
https://docs.google.com/forms/d/1opF-aFdmYGIDSguMTTMm-L_rAvU8vLhXqIMSO2GQeIY/edit
หลักสูตรการฝึกอบรมจะทำให้ได้เข้าร่วม
-หากอาศรมธรรมชาติยกเลิกการฝึกอบรมจะต้องเสียค่าสมัครคืน 100%
– หากท่านเข้ารับการอบรมสัมมนาก่อนวันอบรมดวงตา 20 วัน ท่านจะได้รับเงินคืน 90%
– หากท่านผู้นำเข้าอบรมก่อนวันอบรม 15 วันก่อนวันอบรม ท่านต้องการให้ค่าสมัครคืน 50%
– หากท่านต้องการเข้าร่วมการประชุมอบรมก่อนวันอบรมไม่ถึง 15 วัน ก็ขอได้โปรดอย่าคืนเงินค่าสมัครคืนให้กับเรายินดีที่จะอนุญาตให้เลื่อนการเข้าร่วมการอบรมกับผู้อื่นหรือเข้าร่วมหลักสูตรอบรม อื่นแทนหรือให้สิทธิ์ผู้อื่นเข้าอบรมแทน
เกี่ยวกับผู้สอน
สุนิสา จำวิเศษ ดีเตอร์
เป็นผู้ร่วมก่อตั้งบุกเบิกอาศรมธรรม โดยก่อนหน้านี้ได้อยู่และทำงานที่อาศรมวงศ์สนิทเป็นเวลาแปดปี และที่ชุมชนปัญญาโปรเจคเป็นเวลาหนึ่งปี สุนิสามีประสบการณ์ในการจัดกระบวนการเรียนรู้เรื่องนิเวศวิทยาแนวลึกและ การออกแบบชุมชน Ecovillage เป็นเวลากว่า 15 ปีแล้วทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ และได้ใช้กระบวรการอบรมที่ผสมผสานการเรียนรู้เรื่องนิเวศวิทยาแนวลึก Ecovillage และ Permaculture ในการสร้างเครือข่าย NextGEN Oceania & Asia. มีบทบาทอยู่ในเครือข่าย Global Ecovillage Oceania & Asia อยู่หลายปีก่อนถอยออกมาเพื่อให้คนรุ่นใหม่ดำเนินการต่อไป เกือบสิบปีที่ผ่านมา สุนิสาพร้อมกับสามีและครอบครัวได้สร้างอาศรมธรรมชาติเพื่อเป็นฐานการเรียนรู้และการใช้ชีวิตที่เชื่อมโยงปรัชญานิเวศวิทยาแนวลึก Ecovillage และ เพอร์มาคัลเจอร์เข้าด้วยกัน
มิ้นท์ ธนาพร ตระกูลดิษฐ์
เป็นทีมงานกลุ่มอาสาสมัครเยียวยาจิตใจผู้ป่วย I See U: Contemplative care
เป็นวิทยากรค่ายเยาวชน..รักษ์พงไพร
Curator TEDxKasetsartU 2018
ค่ายอาสาที่จัดเอง: เพชรบูรณ์ (2557), ลาว (2558), สตูล (2559) and พิษณุโลก (2560)
ปี 2561 เก็บประสบการณ์ การเดินทางภายใน และ จัดค่าย มา ดู ใจ ในปี 2562 (ค่ายที่ชวนลูกค่ายมาเดินทางภายในอย่างจริงจังค่ายแรก หลังจากเดินทางบริจาคสิ่งของ สอนเด็กมา 4 ปี)
ร่วมออกแบบและพัฒนากิจกรรมอาบป่าร่วมกับ บริษัท เทรคกิ้งไทย
จัดกิจกรรมอาบป่า เพื่อพัฒนาการภาวนากับธรรมชาติให้เข้ากับชีวิตประจำวัน
จัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อเข้าใจตนเองให้นักเรียนในค่ายทักษะชีวิตของเขตการศึกษาต่างๆ
จัดกระบวนการเรียนรู้ในค่ายจิตวิทยาให้กับนักเรียนชั้น ม.4 โรงเรียนกำเนิดวิทย์
มิ้นท์มีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะผนวกศาสตร์ของ ธรรมชาติ-ศิลปะ-จิตวิญญาณ เพื่อออกแบบการเรียนรู้ให้กับบุคคลทุกกลุ่ม (ทุกเพศ ทุกวัย ทุกคน) เพื่อตอบโจทย์วิชาชีพด้านป่าไม้ และตอบโจทย์ชีวิตที่อยากเป็นกระบวนกร เพื่อเรียนรู้ เข้าใจ นำไปสู่การดูแลตนเอง คนรอบข้าง และโลกใบนี้ให้งดงาม
ช่วงปี 2561-2562 รวมตัวกับเพื่อนๆที่มีความตั้งใจเดียวกัน สร้างพื้นที่เรียนรู้ที่หาดใหญ่ภายใต้ชื่อกลุ่ม Common : the co-learning space เพื่อนำทักษะที่แต่ละคนดั้นด้นไปเรียนที่ กทม. มาสร้างพื้นที่เรียนรู้ใกล้บ้าน มาพัฒนาพื้นที่ให้เป็น learning hub ของภาคใต้
ปัจจุบันยังคงทำงานราชการกรมป่าไม้ที่กรุงเทพมหานครและเป็นกระบวนกรอิสระที่ชักชวนผู้คนเดินทางภายในผ่านความรักและธรรมชาติ โดยออกการออกแบบกิจกรรม/กระบวนการให้สอดคล้องกับโจทย์การเรียนรู้ของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย
อาหารและที่พัก
เราบริการอาหารมังสวิรัติและหรืออาหารวีแก้นตลอดทั้งสามมื้อ พร้อมเครื่องดื่มสมุนไพรและผลไม้ระหว่างช่วงพักระหว่างกิจกรรม โดยมีแม่ครัวเป็นคนทำอาหารหลัก
- หอพัก : เรามีที่พักแบบหอพักโฮสเทล(Hostel) ซึ่งเป็นหอพักรวมชายหญิงภายในอาคารเดียวกันแต่มีผนังกั้นระหว่างชายและหญิง โดยแต่ละคนจะมีเตียงนอน หมอน ผ้าห่ม และมุ้งพร้อม ค่าเข้าอบรมจะรวมค่าที่พักนี้ด้วย
- ห้องพักแยก : เรามีห้องพักแยกเป็นห้องเล็ก และห้องใหญ่ โดยห้องเล็กเหมาะสำหรับคนหนึ่งคน และห้องใหญ่สามารถพักร่วมกันได้ 2-4 คน หากต้องการพักในห้องพักแยก มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม 250 บาท/คืน และห้องพักใหญ่(สำหรับสองคน) 350 บาท/คืน
- ห้องอบรมและทำกิจกรรมภายในอาหาร : เรามีศาลาที่เป็นห้องโถงโล่งกว้างสำหรับทำกิจกรรมเรียนรู้ต่างๆ ทั้งนั่งสมาธิ ทำโยคะ ห้องเรียน และอื่นๆ การเรียนรู้ของเราจะอยู่ทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน.
- ห้องส้วมและห้องอาบน้ำ : เรามีส้วมสองระบบคือส้วมหมักปุ๋ย (dry compost toilets) และส้วมใส้เดือน (vermi compost toilet) ซึ่งส้วมทั้งสองระบบใช้น้ำน้อย และไม่ทำให้น้ำสูญเปล่า
อื่นๆ :
- เรามีร้านกาแฟออแกนิกส์ GAIA CAFE อยู่ภายในศูนย์เรียนรู้ ท่านสามารถนั่งเล่น นอนเล่นอ่านหนังสือ ดื่มชากาแฟได้ในช่วงพัก และเราก็มีสินค้าธรรมชาติที่ผลิตจากวัตถุดิบภายในสวนของเรา และสินค้าจากเครือข่าย โดยท่านสามารถดูรายการสินค้าของเราได้ที่ GAIA ESSENCE
- เราขอให้ผู้เข้าร่วมใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด เราจัดหาผลิตภัณฑ์ธรรมชาติไว้ขายที่ร้านของเรา
- อินเตอร์เน็ต : เรามีอินเตอร์ไว้บริการที่คาเฟ่ของเรา
พื้นที่ของเรา

อาศรมธรรมชาติเป็นศูนย์เรียนรู้และชุมชน ecovillage ที่สร้างขึ้นจากแรงบันดาลใจของการค้นหาวิถีชีวิตที่หยั่งรากอยู่บนฐานการที่เราเห็นตัวเราและชุมชนมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งอยู่ในข่ายใยชีวิตในระบบนิเวศ หรือการสร้างชุมชนของมนุษย์ที่อยู่ในบริบทของชุมชนแห่งสรรพชีวิตนั่นเอง
การสร้างและออกแบบอาศรมธรรมชาติทั้งในทางกายภาพ ทางวิถีและวัฒนธรรมได้แรงบันดาลใจและแนวทางจากการออกแบบชุมชน Ecovillage เพอร์มาคัลเจอร์ และปรัชญา นิเวศวิทยาแนวลึก(Deep Ecology)
การเดินทาง
หากเดินทางมาจากต่างจังหวัด ท่านสามารถเดินทางโดยรถไฟ เครื่องบิน หรือรถโดยสารประจำทาง โดยกำหนดจุดหมายไว้ที่อุดรธานี หรือ หนองคาย โดยที่จังหวัดอุดรธานี มีสนามบินนานาชาติ (กรุณาตรวจสอบว่าต้นทางที่จะเดินทางนั้นมีบริการเดินทางด้วยการเดินทางแบบใดบ้างที่มีจุดหมายปลายทางที่จ.อุดรธานี หรือ หนองคาย) จากจุดอุดรธานี หรือหนองคาย ท่านสามารถเดินทางมาที่ศูนย์เรียนรู้ของเราด้วยวิธีการข้างล่างนี้

ติดต่อเรา
อีเมลล์ : gaiaschoolasia@gmail.com
โทรศัพท์ : 0805791006
Line : 0905791006
WhatsApp : 0805791006
FB messenger : Gaia Ashram อาศรมธรรมชาติ